บัวสวรรค์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gustavia augusta L.ชื่อเรียกอื่น : Gustaviaชื่อวงศ์ : LECYTHIDACEAEลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 4-8 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปหอกกลับ โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ดอกเดี่ยว ออกที่ยอดตามซอกใบปลายกิ่งหรือตามลำต้น มีกลิ่นหอม กลีบดอก (6-)8(-9) กลีบ สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ จำนวนมาก ส่วนล่างสีขาว ส่วนบนสีชมพู ผลเป็นผลสด สีน้ำตาลเขียว ทรงลูกข่าง เมล็ดสีดำ มีเยื่อสีเหลืองหุ้มการกระจายพันธุ์ : ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน (เวเนซุเอลา กียาน่า สุรินัม เปรู บราซิล) ออกดอก ตลอดปี การปลูกเลี้ยง ดินร่วน แสงแดดจัด น้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ช่วงเวลาการออกดอก : ตลอดปี ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ประดับ ใบเขียวตลอดปีช่วยให้บ้านดูร่มรื่นเย็นสบาย เยื่อไม้ใช้ทำด้าย น้ำจากก้านดอกอ่อนหมักแล้วกลั่นรับประทาน… Continue reading 10. บัวสวรรค์
Category: ปฐมวิเวกพรรณพฤกษ์
ให้ข้อมูลเบื้อง คุณประโยชน์ต่างๆของต้นไม้ที่มีอยู่ในปฐมวิเวก พร้อมสอดแทรกคติธรรมคำสอนต่างๆ ซึ่งในส่วนของการจัดทำเพจ “ปฐมวิเวกพรรณพฤกษ์” นี้ เป็นการจัดทำโดยกลุ่มเพื่อนๆศิษย์เก่าเกษตรเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นช่องทางอีกทางหนึ่งของการเผยแพร่ธรรมะ โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อหาผลประโยชน์ในเชิงธุระกิจแต่อย่างใด
8. มะตูมแขก
พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดอะไรขึ้นมาภายในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมันและปล่อยวาง มะตูมซาอุ มะตูมซาอุ การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร: Plantae ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids อันดับ: Sapindales วงศ์: Anacardiaceae สกุล: Schinus สปีชีส์: S. terebinthifolia ชื่อทวินาม Schinus terebinthifoliaRaddi[1] มะตูมซาอุ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Schinus terebinthifolia) หรือ มะตูมแขก หรือ สะเดาบาห์เรน เป็นไม้ประดับในวงศ์มะม่วง ลักษณะเป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง 7-10 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 5-15 ใบ ใบย่อยรูปรีถึงใบหอก ขอบใบหยัก ขนาด 2-3.5 x 3-6 เซนติเมตร เมื่อขยี้ใบมีกลิ่นฉุน ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปใบหอก 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวรูปรี 5 กลีบ ผลเป็นผลเมล็ดเดี่ยวแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง… Continue reading 8. มะตูมแขก
85. นางพญาเสือโคร่ง
ไม่ต้องโกรธต้องเกลียดใครหรอก ส่วนหนึ่งที่เราโดนแบบนี้เพราะกรรมเก่าของเราเอง โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท จันทน์กะพ้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Vatica diospyroides Symington จัดอยู่ในวงศ์ DIPTEROCARPACEAE เช่นเดียวกับเคี่ยม ตะเคียนทอง และพะยอม[1] สมุนไพรจันทน์กะพ้อ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เขี้ยวงูเขา (พังงา), จันทน์พอจันทน์พ้อ (ภาคใต้) เป็นต้น[1],[2],[3 สรรพคุณของจันทน์กะพ้อ ดอกใช้ผสมกับยาอื่นปรุงเป็นยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ (ดอก)[2],[3] ช่วยแก้สันนิบาต (เนื้อไม้)[4] เนื้อไม้มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน (เนื้อไม้)[4] ช่วยขับลม (เนื้อไม้)[4] ช่วยแก้เสมหะ (เนื้อไม้)[4] ประโยชน์ต้นจันทน์กะพ้อ สมัยก่อนคนโบราณจะใช้ดอกกลั่นทำน้ำมันใส่ผมและมีการนำมาใช้ทำน้ำหอม[2] ไม้จันทน์กะพ้อมีเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างหรือใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ได้[1] เนื่องจากดอกของต้นจันทน์กะพ้อมีกลิ่นหอมแรง ออกดอกดก จึงนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ โดยจะปลูกตามป่าอนุรักษ์ ตามสนามหน้าบ้าน หรือใช้จัดสวนหย่อมก็ได้ และควรปลูกทางด้านทิศตะวันออกที่มีไม้ใหญ่[1],[4] คนโบราณนิยมนำดอกจันทน์กะพ้อมาเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า เพื่อใช้อบให้เสื้อผ้ามีกลิ่นหอม (รองศาสตราจารย์ชนะ วันหนุน)
18. เฉียงพร้านางแอ
เขานินทาต้องหยุดนิ่ง พิจจารณาดูว่าเขาว่าอะไรกัน ถ้าไม่เป็นจริงก็แล้วไปแก้ไขตัวเองเสียก็หมดเรื่อง เท่านั้นเอง
กระดังงาสงขลา
ฟังทำศึกษาธรรมแล้วไม่นำไปปฏิบัติ ก็เหมือนกับถือผลไม้ใว้เท่านั้น ยังไม่กินยังไม่ลิ้มรส ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท กระดังงาสงขลา กระดังงาสงขลา ชื่อสามัญ Ilang.-Ilang.[3], Drawf ylang ylang[5],[6] กระดังงาสงขลา ชื่อวิทยาศาสตร์ Canangium fruticosum Craib[5],[6] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cananga odorata var. fruticosa (Craib) J.Sinclair, Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) J.Sinclair[1], Cananga odorata Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) Corner[3]) จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) เช่นเดียวกับกระดังงาไทย[1] สมุนไพรกระดังงาสงขลา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระดังงาสาขา (กรุงเทพฯ), กระดังงางอ (ยะลา-มลายู), กระดังงาเบา (ภาคใต้),… Continue reading กระดังงาสงขลา
ประดู่กิ่งอ่อน
การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ถ้าค้นพบความผิดแล้วแก้ไข และตั้งใจไม่ทำผิดเป็นซ้ำสอง น่ายกย่องนับถือยิ่งนัก โอวาทธรรม หลวงปู่แหวน สุจิโณ ประดู่บ้าน ประดู่ ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra[1], Angsana Norra, Malay Padauk[2], Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood[3], Indian rosewood[4] ประดู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[2],[3] สมุนไพรประดู่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย ประดู่กิ่งอ่อน อังสนา (ภาคกลาง), สะโน (มาเลย์-นราธิวาส), ดู่, ประดู่ป่า, ประดู่ไทย… Continue reading ประดู่กิ่งอ่อน
20. หงอนไก่ฟ้า
อายุไม่สำคัญเท่าความดีที่ตัวเองทำใว้ อย่ามายินดีกับความมีอายุ ให้ยินดีกับความดีที่ทำ
19. ยางนา
หมามันเห่ามันหอนที่ใหน ตัวมันก็อยู่ที่นั่น คนอื่นพูดเขาจะพูดดีไม่ดี มันก็เป็นสมบัติของเขา โอวาทธรรม หลวงปู่สรวง สิริบุญโญ
6. งิ้วป่าดอกขาว
เขาติดฉินนินทา เขาก็ว่าใส่ตัวเขาเอง ปากของเขาอยู่ที่เขา หูของเขาอยู่ที่เขา โอวาทธรรม หลวงปู่ขาว อนาลโย งิ้วป่า งิ้วป่า ชื่อสามัญ Bombax, Cotton tree, Ngiu งิ้วป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Bombax anceps Pierre. (Bombax anceps Pierre var. anceps) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย BOMBACOIDEAE สมุนไพรงิ้วป่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ไกร่ (เชียงใหม่), งิ้วป่า (ประจวบคีรีขันธ์, ภาคใต้), ง้าวป่า นุ่นป่า (ภาคกลาง), งิ้วป่าดอกขาว งิ้วดอกขาว งิ้วผา ไกร (ภาคเหนือ), งิ้วขาว, งิ้วผา เป็นต้น[1],[3],[4] ลักษณะของงิ้วป่า ต้นงิ้วป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร และสามารถสูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง และมักมีพูพอนต่ำ ๆ เมื่อต้นยังเล็กจะมีลักษณะเรือนยอดจะเป็นชั้น ๆ เมื่อต้นโตเต็มที่จะมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอด ด้านบนจะแบน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีหนามแข็งอยู่ทั่วลำต้น โดยเฉพาะต้นอ่อนและกิ่งก้าน และหนามจะลดลงเมื่อต้นโตขึ้น แต่กิ่งก้านยังคงมีหนามเช่นเดิม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ไม่อุ้มน้ำ ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วไป แต่มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่มีหินปูน ป่าเบญจพรรณตามเชิงเขาและไหล่เขาตามภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ… Continue reading 6. งิ้วป่าดอกขาว
1. โพธิ์ศรีมหาโพ
ให้เราพิจารณาดู ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา คนก็เหมือนกัน เราไม่จากเขา เขาก็จากเรา มันอยู่ที่ใครไปก่อนใครเท่านั้นเอง บางทีวัตถุก็ไปก่อนเรา บางทีเราก็ไปก่อนวัตถุ บางทีคนใกล้ชิดเรา เขาก็ไปก่อน บางทีเราไปก่อนเขา มันเป็นไป ตามเหตุปัจจัยของกรรม* หลวงปู่ชา สุภัทโท ต้นโพธิ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa L. วงศ์ MORACEAE ปรากฎต้นศรีมหาโพธิ์ในพุทธประวัติ อันเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้านั่งประทับใต้ร่มเงาของต้นไม้โพธิ์ต้นนี้เพื่อบำเพ็ญเพียรและตรัสรู้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ อายุยืนยาวมาก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แผ่กิ่งก้านตรงออกไปและแผ่คลุมคล้านร่ม ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้างโคนต้นเป็นพูพอนขนาดใหญ่ โดยจัดเป็นพรรณไม้ที่มีรูปทรงของลำต้นส่วนงามชนิดหนึ่ง มักเจริญเติบโตจากสัตว์นำพา และด้วยความที่เติบโตง่ายได้ในดินทุกชนิดและต้องการน้ำปานกลาง จึงมักพบต้นโพธิ์ปรากฎอยู่ในซากปรักหักพังหรือพื้นที่รกร้างที่ไม่ค่อยมีคนอยู่อาศัยใบเป็นรูปใจ เมื่อลมพัดจะเห็นใบพลิ้วไหวช้าไปตามลมดูสวยงาม แต่หากปลูกในบ้านหรืออาคารควรระวังปัญหาเรื่องรากของต้นโพธิ์อาจทำให้บ้านหรือตัวอาคารเกิดความเสียหายได้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงนำพันธุ์ต้นโพธิ์ที่มาจากต้นพันธุ์ของต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยตรงนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกไว้ ณ วัดเปญจมบพิตรและวัดอัษฏางนิมิตร