3. ปาล์มพัด

คนที่เรียนปริยัติแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนกับทัพพีที่อยู่ในหม้อ “มันตักแกงทุกวัน แต่มันไม่รู้รสของแกง” โอวาทธรรม : หลวงปู่ชา สุภัทโท ปาล์มพัด (อังกฤษ: Fiji Fan Palm[1]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pritchardia pacifica) หรือ ปาล์มมงกุฎ เป็นปาล์มในสกุล Pritchardia มีถิ่นกำเนิดในฟีจีตองงา และซามัว[2] เป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 เซนติเมตร ใบรูปพัด ขอบใบจักเว้าตื้นและพับเป็นจีบ แผ่นใบขนาด 1 เมตร ช่อดอกสมบูรณ์เพศยาว 30 เซนติเมตร ออกระหว่างกาบใบ ผลกลมขนาด 1.2 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีน้ำตาลเข้ม[3] ปาล์มพัดนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ[4] ชาวพื้นเมืองฟีจีใช้ใบและลำต้นทำพัด ร่มและเสาเรือน[5]

100. จำปา

“ความรู้สึกนึกคิดของเรา ไปมีอุปทานมั่นหมาย มันเกิดขึ้นเมื่อใหร่ มันก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น ฉนั้น ในการประพฤติปฏิบัติ ท่านจึงให้ปล่อยวาง “ โอวาทธรรม : หลวงปู่ชา สุภัทโท

99. จำปี

ธรรมของจริงแท้ ที่ทำให้บุคคลเป็นอริยได้ มิใช่เพียงศึกษาตามตำราและนึกคิดคาดคะเนเอาเท่านั้น แต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นจริงๆ ของจริงจึงเป็นของจริงขึ้นมาได้ โอวาทธรรม : หลวงปู่ชา สุภัทโท

98. กระดังงาสงขลา

หมามันเห่ามันหอนอยู่ที่ใหน ตัวมันก็อยู่ที่นั่น คนเราก็เหมือนกัน คนอื่นพูดมันก็เป็นสมบัติของเขา จะพูดดีหรือไม่ดี ก็เป็นสมบัติของเขา โอวาทธรรม : หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ

96. ไทรกฤษณะ

ของดีที่อยู่กับพระพุทธเจ้า ก็เป็นของดีที่อยู่กับพระองค์ จะไปขอเอากับท่านไม่ได้ เราจะต้องปฏิบัติเอา ผลที่สุดแล้วความดีก็จะอยู่กับเรา แต่ถ้าเราไม่สร้างความดีที่ถูกต้องขึ้น มันก็ดีขึ้นไม่ได้ ไม่ปรากฎขึ้นได้ โอวาทธรรม : หลวงปู่ชา สุภัทโท

95. พุดน้ำบุศย์

คนที่เรียนปริยัติแล้วแต่ไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนทัพพีที่อยู่ในหม้อ มันตักแกงทุกวันแต่มันไม่รู้รสของแกง จะเรียนอยู่จนหมดอายุ ก็ไม่รู้จักรสของธรรมะ เหมือนทัพพีไม่รู้รสของแกง ฉันนั้น โอวาทธรรม : หลวงปู่ชา สุภัทโท

94. รัตนพฤกษ์

บางคนมีความโลภโกรธหลงอย่างแรงกล้า ก็ไม่มีอะไรจะปราบเจ้ากิเลสตัวนี้ได้ พอพิจารณามรณสติคือ การระลึกถึงความตายบ่อยๆจนเกิดความสลดสังเวช เพราะว่าจนมันก็ตาย รวยมันก็ตาย ชั่วมันก็ตาย ดีมันก็ตาย อะไรๆ มันก็ตายทั้งนั้น โอวาทธรรม : หลวงปู่ชา สุภัทโท

93. คอร์เดีย

การสำรวมกาย วาจา ใจ เรียกว่าศีล ใจสงบเรียกว่าสมาธิ อาการที่รู้ทันเมื่อมีอารมณ์มากระทบ รู้ตามความเป็นจริง เรียกว่า ปัญญา

92. อัญชันต้น

บุคคลทำความเพียรอยู่ทุกๆวัน ก็เหมือนบุคคลที่เดินเข้าไปในป่าที่ยังไม่มีทางเดิน เมื่อเราเดินอยู่บ่อยๆก็ย่อมเป็นถนนหนทางได้ โอวาทธรรม : หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

91. พุดกังหัน

ศีล เราต้องรักษาให้เท่ากับหัวของเรา ศีลขาดเท่ากับคอขาด ศีลขาดดีกว่าไม่มีศีลเลย เพราะคนนุ่งผ้าขาดย่อมดีกว่าเปลือยกาย ความดีเป็นของผู้ทำ ไม่ใช่ของคนโง่ คนฉลาด คนมี หรือคนจน โอวาทธรรม : ท่านพ่อลี ธมมธโร